Movement Experiences Management for Early Childhood

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559

 (เวลา 14.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ
ก่อนเริ่มการเรียนการสอน มาบริหารสมองซีกซ้ายและขวากันเช่นเคย... วันนี้มีท่าใหม่ๆเพิ่มเติมอีกด้วย....


จากนั้นเรามาทบทวนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะแบบเคลื่อนที่ โดยการใช้สัญญาณเป็นเครื่องเคาะจังหวะ และคำสั่งจากคุณครู 
ตัวอย่าง
-กำหนดข้อตกลงว่า ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้งให้เด็กๆก้าวไปในทิศทางใดก็ได้ 1 ก้าว
-ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็กๆก้าวไปในทิศทางใดก็ได้ 2 ก้าว
-ถ้าคุณครูเคาะรัวๆให้เด็กเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องอย่างอิสระ
-ถ้าคุณครูเคาะ2ครั้งติดกันดังๆ ให้เด็กๆหยุดทันที

**ครูผู้สอนจะต้องบอกข้อตกลงหรือทบทวนให้เด็กก่อนเริ่มกิจกรรม และคอยเคลื่อนที่ตามเด็กไปเรื่อยๆ อยู่นอกวงกลมเพื่อให้มองเห็นเด็กได้ครบทุกคน**

ตัวอย่างการประยุกต์ทำเครื่องเคาะจังหวะจากวัสดุเหลือใช้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เป็นโอกาสในการฝึกการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่สามารถนำเทคนิคต่างๆไปใช้ได้ในภายหน้า และเป็นแนวทางในการประดิษฐิ์เครื่องเคาะจังหวะจากวัสดุเหลือใช้ได้ตามไอเดียของแต่ละคน
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ร่วมกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนได้ มีปฎิสัมพันธ์กับคุณครู

ประเมินเพื่อน
เพื่อนแต่ละกลุ่มมีความตั้งใจในการสอน อาจตื่นเต้นและพูดไม่ค่อยคล่องบ้าง เพราะเป็นการสอนในครั้งแรก แต่ถ้าได้สอนบ่อยๆจะดีขึ้น

ประเมินอาจารย์
อาจารย์อบอุ่น คอยแนะนำเทคนิคการพูดและวิธีการสอน คอยเดินดูและช่วยเหลือ ในส่วนที่ยังไม่ดีก็ให้คำแนะนำ 

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันจันทร์ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559

 (เวลา 14.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ

เนื้อหาการเรียนการสอน เรื่อง สมรรถนะทั้ง 7 ด้วยของเด็กปฐมวัย 
  • สมรรถนะ คือ พฤติกรรมบ่งชี้ของแต่ละวัย  
ตัวอย่าง การเคลื่อนไหวและการทรงตัว

3 ปี - วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่ต้องกางแขน
5 ปี - เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่างการมีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี - พูดคุยและเล่นกับเพื่อน
4 ปี - ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี - ชวนเพื่อนเล่นด้วยโดยกำหนดสถานที่
  • ความสำคัญของสมรรถนะ 
-ทำให้พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก และครู เข้าใจเด็กมากขึ้น
-สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในแต่ละช่วงมากขึ้น
-ชี้แนะแนวทางในการพัฒนาเด็กเป็นเสมือน "คู่มือช่วยแนะแนว"
  • สมรรถนะทั้ง 7 ด้ายประกอบด้วย
การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
พัฒนาการด้านสังคม
พัฒนาการด้านอารมณ์
พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
พัฒนาการด้านภาษา
พัฒนาการด้านจริยธรรม
พัฒนาการด้ารการสร้างสรรค์
  • สรุปจากงานวิจัย
จากสมรรถนะจำนวน 419 ข้อ พบว่าเด็กทำได้ในระดับจากง่ายไปยาก ดังนี้

สมรรถนะ 178 ข้อ อยู่ระดับ ง่าย
สมรรถนะ 53  ข้อ  อยู่ระดับ ปานกลาง
สมรถถนะ 189 ข้อ อยู่ระดับ ยาก



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้แก่เด็กปฐมวัน เราต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน และคำถึงสมรรถนะของเด็กด้วยเช่นกัน
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน มีปฎิสัมพันธ์กับเพื่อนและอาจารย์

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมารอเรียนก่อนเวลา ตั้งใจเรียนและพูดคุยกับอาจารย์ได้ดี บรรยากาศในห้องเรียนอบอุ่น

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ไม่สบาย แต่ก็พยายามตั้งใจสอนเราอย่างเต็มที่ให้เราได้ความรู้มากที่สุด มีการเตรียมการสอน บรรยากาศในห้องเรียนสนุกสนาน ไม่เครียด 

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันจันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559

 (เวลา 14.30-17.30)


ความรู้ที่ได้รับ

เริ่มการเรียนการสอนเนื้อหา โดยการพรีเซ้นงานกลุ่มเรื่อง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

นักฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาด้านร่างกาย
  • กีเซลล์ สามารถนำมาประยุกต์ได้โดย
-ไม่เร่งสอนสิ่งที่ยากเกินไป ให้เด็กพัฒนาไปตามวัย
-จัดกิจกรรมให้เด็กเคลื่อนไหว ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้ ฟัง พูด ร้องเพลง
  • อีริคสัน สามารถนำมาประยุกต์ได้โดย
-ควรสร้างบรรยากาศให้เด็กมีความมั่นใจ กล้าแสดงออก
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นอย่าอิสระ
-จัดกิจกรรมเคลื่อนไหว จังหวะ การเคลื่อนที่ของตนเองได้ทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
ต่อมาเข้าสู่การปฏิบัติ เริ่มต้นด้วยการบริหารสมองซีกซ้ายและขวาเช่นเคย และอาจารย์พูดคุยและเปิดวิดีโอที่สะท้อนเกี่ยวกับวัยรุ่นให้ดู คอยแนะนำ คอยเตือนอยู่เสมอ
กิจกรรมต่อมา กิจกรรมเคลื่อนไหวอยู่กับที่  โดยรอบแรกอาจารย์ให้เราทำเดี่ยว และรอบที่สองแบ่งกลุ่มให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่คนละ 2 ท่า หน้าชั้นเรียน เพื่อฝึกความกล้าแสดงออก
จากนั้นอาจารย์สอนวิธีการพูด การบอกขั้นตอนท่าทาง ในการเคลื่อนไหวให้กับเด็ก การอธิบายให้เด็กฟังนั้นต้องอธิบายให้ชัดเจนและยิ้มแย้มแจ่มใสในการสอนกิจกรรมเพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่น อยากเรียนสนุกสนาน และให้ทุกคนคิดท่าเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่คนละ 3 ท่า พร้อมคำอธิบายมาแสดงหน้าห้องเรียน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวให้เด็กสิ่งที่ต้องคำนึงถึงการอธิบายและทำท่าทาง และทำตัวอย่างให้เด็กดู ให้เด็กเกิดความน่าสนใจและสนุกสนานกับกิจกรรม  มีส่วนร่วมกับกิจกรรมตลอด และสีหน้าของครูที่ต้องยิ้มแย้มแจ่มใสในการสอนเด็ก 

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่มได้ดี แสดงความคิดเห็นต่างๆ

ประเมินเพื่อน
ทุกคนกล้าแสดงออก มีวิธีการพูดที่แตกต่างกันและสนุกสนานในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ทรอดแทรกเทคนิคต่างๆให้ตลอด และร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน นอกจากนี้ยังคอยอบรมสั่งสอน คอยเตือน คุอยดูแลและเป็นห่วงในเรื่องการใช้ชีวิตในวัยรุ่น