Movement Experiences Management for Early Childhood

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 24 มีนาคม 2559

 (เวลา 14.30-17.30)

ความรู้ที่ได้รับ
  • การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง หรือ การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่บอกคำสั่งให้กับเด็ก และให้เด็ดปฎิบัติตามคำสั่ง โดยครูเป็นผู้กำหนดคำสั่ง(คำสั่งนั้นไม่ยากจนเกินไป)

ตัวอย่าง

-ถ้าคุณเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กจับหัว
-ถ้าคุณครูเคาะ 2 ครั้ง ให้เด็ก จับไหล่
-ถ้าคุณครูเคาะ 3 ครั้ง ให้เด็กจับเอว
  • กำหนดสัญญาณให้เด็กไปตามมุมต่างๆ ตามคำสั่ง เช่น
-ถ้าคุณครูพูดว่า มุมบล็อก ให้เด็กๆทำท่าปลาและเดินไปที่มุมบล็อก
-ถ้าคุณครูพูดว่า มุมบ้าน ให้เด็กๆทำท่าแมวและเดินไปที่มุมบ้าน
-ถ้าคุณครูพูดว่า มุมดนตรี ให้เด็กๆทำท่าวัวและเดินไปที่มุมดนตรี
-ถ้าคุณครูพูดว่า มุมหนังสือ ให้เด็กๆทำท่านกและเดินไปที่มุมหนังสือ
  • กำหนดสัญญาณโดยการใช้ภาพ เช่น
-ถ้าคุณครูชูรูปวงกลม ให้เด็กๆปรบมือ 1 ครั้ง
-ถ้าคุณครูชูรูปสี่เหลี่ยม ให้เด็กๆปรบมือ 2 ครั้ง
-ถ้าคุณครูชูรูปสามเหลี่ยม ให้เด็กๆปรบมือ 3 ครั้ง

หรืออาจแบ่งกลุ่มตามรูปทรง แล้วตั้งคำสั่งให้เด็ก เช่น
-เด็กๆที่อยู่กลุ่ม วงกลม ให้ร้องเพลง
-เด็กๆที่อยู่กลุ่ม สามเหลี่ยม ให้ปรบมือ
-เด็กๆที่อยู่กลุ่ม สี่เหลี่ยม ให้เต้น
ทดลองสอน
เริ่มโดยการเคลื่อนไหวพื้นฐาน 
-ถ้าคุณครูเคาะจังหวะช้าๆให้เด็กๆเคลื่อนที่ช้าๆไปรอบๆห้อง
-ถ้าคุณครูเคาะจังหวะเร็วๆให้เด็กๆเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วไปรอบๆห้อง

เคลื่อนไหวตามคำสั่ง กำหนดสัญญาน ดังนี้ 
-คุณครูจะให้เด็กๆทุกคนรวมตัวกันแปลงร่าง เป็น เครื่องบิน... เครื่องบินมีเสียงอย่างไร?
-คุณครูจะให้เด็กๆทุกคนรวมตัวกันแปลงร่าง เป็น รถไฟ... รถไฟมีเสียงอย่างไร?
-คุณครูจะให้เด็กๆทุกคนรวมตัวกันแปลงร่าง เป็น เรือ... เรือมีเสียงอย่างไร?

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ดังนี้
-นวดขมับ
-นวดแขน
-นวดขา
 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
นำเทคนิคคำสั่งต่างๆที่ไม่เคยรู้ มาลองคิดและลองสอนให้เกิดความคุ้นชินในการสอน ทำให้เข้าใจและสอนได้ถูกต้อง
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ตั้งใจร่วมกิจกรรม คอยไปเป็นเด็กๆให้เพื่อน และตั้งใจสอน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีความสามัคคี ร่วมกิจกรรมกันอย่างมีความสุข สนุกสนาน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์น่ารัก ยิ้มแย้มแจ่มใส คอยดูแลและช่วยแนะเทคนิคการสอน พร้อมกับสอนเรื่องต่างๆรอบตัวนอกจากในบทเรียนด้วย

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันจันทร์ ที่ 14 มีนาคม 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 17 มีนาคม 2559

 (เวลา 14.30-17.30)


ความรู้ที่ได้รับ

ทดลองสอน 
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน 
กำหนดสัญญาณให้เด็กฟังและปฎิบัติตาม
- เริ่มโดย ร้องเพลงเก็บเด็ก 
-กำหนดจังหวะ เช่น ถ้าคุณครุเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กก้าว 1 ก้าว ถ้าคุณครูเคาะรัวๆเร็วๆให้เด็กเคลื่อนที่อย่างอิสระรอบห้อง แต่ถ้าคุณครู เคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่
  • การเคลื่อนไหวแบบสัมพันธ์เนื้อหา หรือ เคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
- เริ่มโดย ครูและเด็กจับมือเป็นวงกลม ครูเข้าไปร่วมวงกับเด็กด้วย
- ครูเลือก เด็ก 1 คน เพื่อมาเป็นผู้นำ ทำท่าทางเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน และเพื่อนๆทำตาม
  • การผ่อนคลาย มี 2 แบบ 
แบบแรก ให้เด็กๆผ่อนคลายโดยการบีบนวด แขน ขา ตัวเอง ทุบไหล่ 
แบบที่สอง ให้เด็กผ่อนคลายโดยครูเล่าเป็นเรื่องราวให้เด็กได้ผ่อนคลาย เช่น
วันนี้เด้กๆเหนื่อยมาทั้งวันแล้ว เด็กๆค่อยๆนอนลงบนเตียง นอนหมอนนุ่มๆ ไหนเด็กๆกลิ้งไปบนเตียงทางซ้าย - ทางขวา เด็กๆหยิบผ้าห่มมาห่ม ค่อยๆหายใจเข้า - ออก แล้วหลับตาลง (ให้เด็กนอนพักประมาน 10 วินาที )
  • เคลื่อนไหวตามคำบรรยาย 
โดยให้ครูเล่าเรื่องราวต่างๆให้สอดคล้องกับหน่วยต่างๆ โดยให้เด็กแสดงท่าทางตามที่คุณครูเล่า กิจกรรมนี้ทำประมาณ 15 นาที

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ได้ทดลองสอนแล้ว สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนได้จริงๆและเป็นแนวทางในการใช้คำพูด ท่าทางในการสอน เพื่อปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นเมื่อสอนจริง
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ตั้งใจสอน และร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆสอนได้ดี และคุณครูชื่นชมทุกคน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ตั้งใจสอน และมีการเตรียมการสอน บอกเทคนิคการสอนต่างๆได้เข้าใจง่าย

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดี ที่ 10 มีนาคม 2559

 (เวลา 14.30-17.30)


ความรู้ที่ได้รับ
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
 เป็นการการหนดสัญญาณให้เด็กทำตาม ขั้นตอนมีดังนี้

- นำเด็กร้องเพลงที่เกี่ยวกับหน่วย หรือ ร้องเพลงเก็บเด็ก
-กำหนดจังหวะ เช่น ถ้าคุณครุเคาะ 1 ครั้ง ให้เด็กก้าว 1 ก้าว ถ้าคุณครูเคาะรัวๆเร็วๆให้เด็กเคลื่อนที่อย่างอิสระรอบห้อง แต่ถ้าคุณครู เคาะ 2 ครั้งติดกัน ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่

  • การเคลื่อนไหวสัมพันธ์เนื้อหา แบบผู้นำ - ผู้ตาม
- ครูกำหนดหน่วยที่จะสอนเด็ก เช่น หน่วยสัตว์ หน่วยยานพาหนะ หน่วยกิจวัตรประจำวัน
- ครูและเด็กจับมือเป็นวงกลม ครูเข้าไปร่วมวงกับเด็กด้วย
- ครูเลือก เด็ก 1 คน เพื่อมาเป็นผู้นำ ทำท่าทางสอดคล้องกับหน่วย และเพื่อนๆทำตาม

  • การผ่อนคลาย มี 2 แบบ 
แบบแรก ให้เด็กๆผ่อนคลายโดยการบีบนวด แขน ขา ตัวเอง ทุบไหล่ 
แบบที่สอง ให้เด็กผ่อนคลายโดยครูเล่าเป็นเรื่องราวให้เด็กได้ผ่อนคลาย เช่น
วันนี้เด้กๆเหนื่อยมาทั้งวันแล้ว เด็กๆค่อยๆนอนลงบนเตียง นอนหมอนนุ่มๆ ไหนเด็กๆกลิ้งไปบนเตียงทางซ้าย - ทางขวา เด็กๆหยิบผ้าห่มมาห่ม ค่อยๆหายใจเข้า - ออก แล้วหลับตาลง (ให้เด็กนอนพักประมาน 10 วินาที )

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
เด็กเคลื่อนไหวและให้เด็กได้ใช้ความคิดในการแสดงท่าทางต่างๆตามหน่วย  เทคนิคการผ่อนคลายที่ให้เด็กได้ผ่อนคลายได้โดยอีกแบบคือการเป็นเรื่องราว
การประเมินผล

ประเมินตนเอง
จดบันทึกขั้นตอนต่างๆ และได้ออกไปทดลองสอนหน้าชั้นเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจฟังและร่วมกิจกรรมได้ดี 

ประเมินอาจารย์
อาจารย์คอยบอกเทคนิคต่างๆให้ทุกคน สอนเข้าใจง่าย และให้เราได้ลงมือปฎิบัติ

วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม 2559

เวลา 12.30-14.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
  • ประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะ โดยการใช้เศษวัสดุเหลือใช้มาประดับตกแต่งผลงาน เช่น
-ขวด
-กระดาษเหลือใช้
-กะลา
-เปลือกหอย
-ฝาขวด
 เครื่องเคาะจังหวะโดยใช้ขวดพลาสติก

 นำขวดพลาสติกมาทำความสะอาด และใส่ถั่วเขียวลงไป เพื่อให้เกิดเสียง


 นำมาตกแต่งด้วยวัสดุเหลือใช้ต่างๆ เช่นไหมพรม  กระดุม 


เสร็จแล้วผลงานของเรา....

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ในการประดิษฐ์เครื่องเคาะจังหวะเราสามารถนำวัสดุเหลือใช้มาตกแต่งได้หลากหลายตามความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ผลงานออกมาดูน่าสนใจและสวยงาม

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ตั้งใจทำผลงาน และ สร้างสรรค์ผลงานของตนเอง

ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ แต่วันนี้มาเรียนน้อยเนื่องจากเป็นวันเสาร์

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมวัสดุให้พร้อม และ คอยให้คำแนะนำ