Movement Experiences Management for Early Childhood

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันจันทร์ ที่ 25 มกราคม 2559

(เวลา 12.30-14.30 )




ความรู้ที่ได้รับ

การเรียนการสอนในวันนี้ เรื่อง การจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย

ประเภทกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ มีดังนี้
1.การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับร่างกาย
  • การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่พื้นฐาน
- การเดิน
- การวิ่ง
- การกระโดด
- การคลาน
  • การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่
2. การเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับวัตถุ
  • การกระทำให้วัตถุอยู่นิ่งเคลื่อนที่ เช่น การขว้าง การตี
  • การหยุดวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่น การรับ 
สำนักพัฒนากรมพลศึกษา สุขภาพและอนามัย แบ่งประเภทกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้
1. ประเภทเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานตามจังหวะ
2. ประเภทฝึกปฎิบัติตามสัญญาณหรือข้อตกลง
3.ประเภทกิจกรรมเนื้อหา
4.ประเภทจินตนาการจากคำบรรยาย
5.ประเภทกิจกรรมฝึกความจำ

แนวทางการประเมิน
1. สังเกตการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย
2 .สังเกตทำท่าทางแปลกใหม่
3. สังเกตทำท่าทางตามคำสั่ง
4. สังเกตการแสดงออก
5. สังเกตความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
จากนั้นเนื้อหาการเรียนเกี่ยวกับสมองของมนุษย์ อาจารย์อธิบายการทำงานสมองของมนุษย์ ส่วนประกอบและหน้าที่ต่างๆของสมองมนุษย์และดูวีดีโอการฝึกบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวา
 
 
 




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

นำการเคลื่อนไหวในรูปแบบประเภทต่างๆไปสอนเด็กได้ถูกต้อง และมีแนวทางวิธีการประเมินกิจกรรการเคลื่อนไหวต่างๆไปประเมินเด็ก เป็นเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเรื่องของสมองในการใช้สอนเด็กและให้เด็กได้ฝึกพัฒนาสมองซีกซ้ายและขวา

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
คอยจดบันทึกเนื้อหาที่เรียน พูดคุยและตอบโต้กับอาจารย์

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์และช่วยกันตอบคำถามต่างๆ

ประเมินอาจารย์
มีการสอนเนื้อหาที่คลอบคลุมกระชับ อธิบายชัดเจนและมีเกร็ดความรู้มาบอกเสมอ

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม 2559

(เวลา 12.30-14.30 )

วันพฤหัสบดี ที่ 21 มกราคม 2559

 (เวลา 14.30-17.30)


ความรู้ที่ได้รับ

เนื้อหาการเรียนทฤษฎีในวันนี้เกี่ยวกับ รายละเอียดในวิชานี้ และเนื้อหาพื้นฐานในการเคลื่อนไหว ดังนี้
  • ความหมายกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ คือ กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระ
  • การเคลื่อนไหวพื้นฐาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 
-การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การบิดตัว การก้มตัว การเหยียดตัว การดัน
-การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เช่น การวิ่ง การกระโดด การสไลด์ 

องค์ประกอบของการเคลื่อนไหวและจังหวะ มี 5 องค์ประกอบคือ
-การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
-บริเวณและเนื้อที่
-ระดับการเคลื่อนไหว
-ทิศทางของการเคลื่อนไหว
-การฝึกจังหวะ

จากนั้นเรามาทำกิจกรรมร่วมกัน วันนี้อาจารย์ให้เราเต้นหน้าห้องเรียนทีละคน จากเพลงที่เลือกและท่าทางประกอบ เพื่อฝึกความกล้าแสดงออกมากขึ้น
ต่อมาอาจารย์ให้เราฝึกท่าบริหารสมองซีกซ้ายและขวาเหมือนเช่นเคย เพื่อให้สมองพัฒนาการได้ดีขึ้น
จากเนื้อหาที่เราได้เรียนไปแล้วเราก็มาปฎิบัติกันว่า การเคลื่อนที่แบบอยู่กับที่ และ การเคลื่อนที่แบบเคลื่อนไหวเราต้องสอนเด็กอย่างไร มีขั้นตอนง่ายๆ เราจะใช้การเคาะเป็นสัญญานในการเคลื่อนไหว ถ้าคุณครูเคาะ 1 ครั้งเด็กจะเคลื่อนไหว 1 ครั้ง และถ้าเคาะ รัวๆ เด็กก็จะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ถ้าเคาะ 2 ครั้งติดกันนั้นแปลว่าเด็กจะต้องหยุดอยู่กับที่  เป็นใช้สัญญาณให้เด็กๆเข้าใจตรงกันนั้นเอง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เราสามารถนำกิจกรรมเคลื่อนไหวแบบพื้นฐานสอนเด็กๆในการเคลื่อนไหว ให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายและให้เด็กได้รู้จักการใช้สัญญาณ ให้เด็กเกิดทักษะการฟัง ไหวพริบและฝึกสมาธิให้แก่เด็กอีกด้วย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
กล้าแสดงออกและร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนได้ดี 

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆกล้าแสดงออก สนุกสนานในกิจกรรม และตั้งใจทำกิจกรรมอย่างมีความสุข

ประเมินอาจารย์
อาจารย์ตั้งใจสอน และบอกเทคนิคการสอนการเคลื่อนไหวให้เด็กๆ มีส่วนร่วมในกิจกรรมของพวกเรา

วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี ที่ 14 มกราคม 2559

 (เวลา 14.30-17.30)




ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นการเรียนการสอนในครั้งแรก ก่อนเริ่มการเรียนอาจารย์ให้ทำท่าฝึกสมองซีกซ้ายและซีกขวา เพื่อให้สมองพัฒนาได้ดีขึ้น 

ต่อมาเข้าสู่การเรียนในวิชานี้ วันนี้อาจารย์ให้เราเต้นประกอบเพลง T26 (ครูนกเล็ก) เพื่อให้เราได้เคลื่อนไหวร่างกายและเป็นเพลงที่ทรอดแทรกความรู้ให้เด็กในเรื่องของสัตว์ต่างๆ 

T26 ครูนกเล็ก เวอร์ชั่นเพลงเด็ก (คลิก!!)



จากนั้นนำเพลงนี้มาต่อยอดโดยการให้เพื่อนๆทุกคนคิดชื่อ สัตว์แต่และตัวและทำท่าทางของสัตว์ตัวนั้นๆ นอกจากนี้ยังคิดการใช้ชีวิตรประจำวันในการเต้นเพลงนี้พร้อมท่าทางประกอบ 


กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์เปิดวีดีโอเกี่ยวกับพระคุณครูให้ดูเพื่อระลึกถึงคุณครู และให้เพื่อนออกมาโชว์การเต้นหน้าห้องเพื่อเตรียมตัวหาเพลงและท่าทางมาเต้นในสัปดาห์หน้า
สนุกสนานกันเลยทีเดียว

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำเพลงที่เป็นเพลงสนุกสนานมาให้เด็กเต้นและทรอดแทรกความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับหน่วยต่างๆให้เด็กได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน เป็นการเรียนที่ได้ทั้งความรู้และเด็กๆสนุกสนานกับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมมากขึ้นด้วย

การประเมินผล

ประเมินตนเอง
ร่วมกิจกรรมได้เต็มที่ ตั้งใจทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ และ ร่วมกิจกรรมด้วยกันอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมการสอนและคอยร่วมแสดงท่าทางให้ดูเป็นตัวอย่าง สนุกสนานไปกับเรา อบอุ่นและสนุกสนาน